...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ...ของ...นายมนัส ชุมทอง..ปศุสัตว์อำเภอ...

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ(ธคก.)"Cattle-Buffalo Bank for Farmer"


“...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโคและกระบือ โดยมีบัญชี ควบคุม ดูแล รักษา แจกจ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือ ตามหลักการของธนาคาร ธนาคารโคและ กระบือ เป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันนี้มีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็น เครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฏว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโคและกระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน...” ธนาคารโคและกระบือพอจะอนุโลมใช้ได้เหมือนกับธนาคารที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน เพระโดยความหมายทั่วไป ธนาคารก็ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสิ่งมีค่า มีประโยชน์ การตั้งธนาคารโค และกระบือก็มิใช่ว่าตั้งโรงขึ้นมาเก็บโค กระบือ เพียงแต่มีศูนย์กลางขึ้นมา เช่นอาจจัดให้กรมปศุสัตว์เป็นศูนย์รวม ใครจะสมทบธนาคารโค กระบือ ก็ไม่จำเป็นต้องนำโค หรือกระบือไปมอบให้ อาจบริจาคในรูปของเงิน..."

ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ
ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เมื่อวันพืชมงคล 14 พฤษภาคม 2523
เกี่ยวกับโครงการธนาคารโคและกระบือตามพระราชดำริ
ความเป็นมา
โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริเป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโครงการหนึ่ง ที่กรมปศุสัตว์ได้รับพระราชทานให้ดำเนินการ เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกตรวจเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2522 ทรงทราบว่ามีราษฎรจำนวนมากขาดแคลนโค-กระบือ ต้องเช่าโค-กระบือมาใช้งานในราคาแพง และเมื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ก็แทบไม่เหลืออะไรเลย เพราะเงินที่ได้ต้องจ่ายเป็นค่าเช่าโค-กระบือไปเกือบหมด จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์จัดตั้งธนาคารโค-กระบือขึ้นในปี 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ได้มีโอกาสได้โค-กระบือไว้ใช้แรงงานเป็นของตนเอง โดยการเช่าหรือเช่าซื้อหรือวิธีการอื่นใด ในราคาที่ถูกจากส่วนราชการ องค์กรหรือเอกชนฯลฯ
....ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริทั้งหมด โดยได้พระราชทานทั้งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตลอดจนโค-กระบือ ที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลให้แก่กรมปศุสัตว์เพื่อนำไปดำเนินการธนาคารโค - กระบือ ฯ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระองค์ โดยใช้ชื่อย่อว่า "ธคก." และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Cattle-Buffalo Bank for Farmer"
ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยใช้ กระบือของ กรมปศุสัตว์จำนวน 280 ตัว นำไปให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี (ในขณะนั้น) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยการให้เช่าซื้อและผ่อนส่งใช้ให้หมดภายใน 3 ปี และกรมปศุสัตว์ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินการดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางเกษตรเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งต่อมาข่าวโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ(ธคก.)ได้แพร่หลายออกไป ได้มีผู้มีจืตรศรัทธาร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลบริจากโค-กระบือและเงินสมทบเข้าโครงการ และได้ขยายการดำเนินงานไปทั่วประเทศ
ประเภทการให้บริการ (รายละ 1ตัว)
1.การให้ยืมเพื่อการผลิต
2.เช่าซื้อ
3.การให้ยืมพ่อพันธุ์โค – กระบือ
4.เช่าเพื่อใช้แรงงาน
5.ให้บริการอื่นๆ(โคนม)
คุณสมบัติของเกษตรกร
1. เป็นเกษตรกรมีสัญชาติไทยอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป
2. มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์
3. มีความประพฤติดี และยินดีให้ความร่วมมือกับทางราชการ
4. ยังไม่เคยได้รับโคหรือกระบือจากโครงการอื่นๆ มาก่อน
5. มีความเหมาะสมและสามารถที่จะดูแลเลี้ยงโค-กระบือได้
6. มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์ จปฐ.1 (ฉบับที่เป็นปัจจุบัน) หากเกินต้องได้รับการรับรองจากหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือ
เป้าหมาย
1.เกษตรกรมีโค- กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางราชการเกษตร
2.สนับสนุนใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การกำกับดูแลกันเองในชุมชนนั้นๆเพื่อเป็นการเข้มแข็งกันในชุมชน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริ
การเข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นความจำนงได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ในพื้นที่เกษตรกรมีภูมิลำเนา
การเตรียมพร้อมของเกษตรกร
1.ทำความเข้าใจและศึกษารายละเอียดของโครงการ
2.รวมกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เป็นกลุ่มสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารโครงการ ภายใต้ระเบียบโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
3.เข้ารับอบรมชี้แจงการเข้าร่วมโครงการ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือปศุสัตว์อำเภอ จัดขึ้น เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ระเบียบโครงการ หลักการเลี้ยงโค – กระบือ การสร้างคอก การจัดทำแปลงหญ้า และการดูแลสุขภาพสัตว์
4.เมื่อได้รับการยืนยันเข้าร่วมโครงการ และทราบกำหนดวันที่จะได้รับการสนับสนุนสัตว์ให้จัดทำคอกสัตว์อย่างง่ายๆ ประหยัด แต่ต้องมีความแข้งแรง สามารถที่ควบคุมสัตว์ได้ โดยจะต้องมีที่ใส่น้ำ ที่ใส่อาหารและมีที่รวบรวมมูลสัตว์ เพื่อเก็บไว้เป็นปุ๋ยคอก
5.หากประสงค์ที่จะใช้แรงงานจากโค-กระบือ ให้จัดเตรียมอุปกรณ์และฝึกการใช้แรงงานในเบื้องต้นเมือได้รับสัตว์จะสามารถดำเนินฝึกกับสัตว์ที่ได้รับได้ทันที
6.เมือได้รับสัตว์ให้ทำสัญญากับเจ้าหน้าที่ โดยเกษตรกรจะต้องหาผู้ค้ำประกัน 1 คน และเกษตรกรจะต้องเก็บสัญญาไว้เป็นหลักฐาน1 ชุด
การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา
1.เกษตรกรจะต้องเลี้ยงดูโค-กระบือที่ได้รับตามสัญญาในเขตอำเภอที่เกษตรกรขอรับบริการ ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกเขตอำเภอเว้นแต่ว่าได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2.เกษตรกรจะต้องคืนโค-กระบือตัวแรกที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง อายุ 2 ปี ให้แก่โครงการเพื่อนำไปให้บริการกับเกษตรกรรายอื่นต่อไป หรือจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนสู่โครงการ ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อลูกโคตัวแรกเป็นกรรมสิทธิ์ขอตนเอง
3.กรณีที่ลูกโค-กระบือ ตัวแรก หรือ สูญหายก่อนส่งมอบให้แก่โครงการ เกษตรกรจะต้องคืนลูกโค-กระบือตัวต่อไปที่มีอายุครบ 2 ปี คืนโครงการ
4.เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการยืม 5 ปี และเกษตรกรได้ส่งมอบลูกโค-กระบือ ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แงแรง ให้แก่โครงการแล้ว เกษตรกรจะได้แม่โค-กระบือ พร้อมลูกตัวต่อๆไป เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่หากเกษตรกรผู้ยืมทำสัญญายืมแม่โค-กระบือไป 3 ปี แล้ว ไม่มีลูกโค-กระบือตัวแรกที่ต้องส่งคืน ธคก. ทางโครงการฯ จะถอนคืนการให้ยืมโค-กระบือ และเกษตรกรผู้ยืมจะต้องนำโค-กระบือไม่ใช่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากเกษตรกรผู้ยืม จะทดแทนแม่โค-กระบือให้และทำสัญญาใหม่ แต่ถ้าแม่โค-กระบือที่ยืมไปอยู่ในระหว่างตั้งท้องในระยะเวลาครบกำหนด 3 ปี อนุโลมให้เกษตรกรยืมตามสัญญายืมต่อไป
5.ตลอดระยะเวลาแห่งการยืมตามสัญญา เกษตรกรจะต้องจัดให้โค-กระบือที่ยืมได้อยู่ในคอกที่แข็งแรง สะอาด น้ำท่วมไม่ถึงตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์ของกรมปศุสัตว์ หรือกรมปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่และตั้งน้ำให้โค-กระบือที่ยืมเกินได้ตลอดเวลา
6.เมือโค-กระบือที่ยืมเข้าคอก ต้องมีการปิดคอกให้แน่นหนา ผูกหรือล่าม หรือทำหารอย่างอื่นใด ที่จะเป็นโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของโค-กระบือหลุดจากคอกได้
7.ต้องจัดหาหญ้า น้ำไว้เลี้ยงโค-กระบือที่ยืมอย่างเพียงพอในแต่ละวันมิให้ขาด
8.ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายแก่โค-กระบือที่ยืม เช่น อุทก วาตภัย อัคคีภัย หรือมีเหตุการณ์ใดๆที่อาจเป็นอันตรายแก่โค-กระบือที่ยืม เกษตรกรจัดต้องป้องกันมิให้โค-กระบือที่ยืมได้รับอันตรายจากเหตุดังกล่าว
9.เกษตรกรจะต้องนำโค-กระบือที่ยืมไปให้สัตว์แพทย์ของกรมปศุสัตว์หรือกรมปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดทุกครั้ง ตามกำหนดระยะเวลาและสถานที่ที่ปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่ได้นัดหมายไว้
10.เกษตรกรจะต้องระมัดระวังเอาใส่ดูแลและบำรุงรักษาโค-กระบือที่ยืม มิให้เกิดการบาดเจ็บเจ็บป่วย หรือมีสุขภาพทรุดโทรม หรือสูญโจรกรรม หากโค-กระบือที่ยืมเกิดการสูญหาย หรือโจรกรรม ผู้ยืมจะต้องรีบออกติดตามเพื่อให้ได้โค-กระบือที่ยืมกลับคืน
11.หากโค-กระบือที่ยืมตั้งท้อง และคลอดลูก ให้ผุ้ยืมแจ้งให้เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในท้องที่ทราบทันที
การปฏิบัติในกรณีมีปัญหาต่อโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงตามโครงการ
1)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงมีอาการเจ็บป่วย
ให้ผู้ยืมรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ทันที เพื่อทำการรักษา ทั้งนี้ผู้ยืมต้องออกค่าใช้จ่ายเอง(เฉพาะค่ายา)
2)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงได้ตายลง
1)ให้ผู้ยืมรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ทันที เมือโค-กระบือตายลงภายในเวลาไม่เกิน 1 วัน พร้อมทำบันทึกรายงานแจ้งเป็นหลักฐาน และถ้าสามารถหากล้องถ่ายรูปได้ให้ถ่ายรูปโค-กระบือที่ตายไว้ด้วยโดยห้ามผู้ยืมหรือผู้ใดนำซากโค-กระบือที่ตายไปใช้ทากรใดๆ ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่
2)เมื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ได้รับแจ้งเหตุการณ์จะไปตรวจสอบเบื้องต้นในการตายของโค-กระบือดังกล่าว เพื่อรายงานแจ้งต่อสำนักงานปสุสัตว์จังหวัดฯไดดำเนินการ
3)สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฯดำเนินการแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าเกิดจากสาเหตุสุดวิสัยหรือความประมาทของผู้ยืม ถ้าเกิดจากความประมาทของผู้ยืม ผู้ยืมต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
3)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงถูกขโมยไป
ให้ผู้ยืมแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วคัดสำเนาบันทึกแจ้งความส่งปศุสัตว์อำเภอท้องที่ พร้อมทั้งผู้ยืมต้องทำทุกวิธีอย่างเต็มความสามรถเพื่อให้ได้โค-กระบือ กลับคืนมา
โรคติดต่อที่สำคัญในโค-กระบือและการป้องกันโรค
1)โรคบรูเซลโลซีส
การป้องกัน ฉีดวัคซีนในโคเพศเมียอายุ 3-8 เดือน เพียงครั้งเดียว คุ้มโรคได้นาน 7 ปี
2)โรคปากและเท้าเปื่อย
การป้องกัน ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนขึ้นไป ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัวสัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 3-4 สัปดาห์ และอยู่ได้นาน 6 เดือน
3)โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียชนิน้ำ
การป้องกัน ให้ฉีดสัตว์อายุ 4 เดือนขึ้นไป และฉีดปีละครั้ง สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3สัปดาห์ และอยู่ได้นาน 15 เดือน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

" ...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโค-กระบือ โดยมีบัญชีควบคุม ดูแลรักษา แจกจ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือ ตามหลักการของธนาคาร
...ธนาคารโคและกระบือ เป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไก เป็นเครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้นความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฎว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโค และกระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน..."
...ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อวัน"พืชมงคล 14 พฤษภาคม 2523" เกี่ยวกับโครงการธนาคารโคและกระบือตามพระราชดำริ