...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ...ของ...นายมนัส ชุมทอง..ปศุสัตว์อำเภอ...

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มอบกระบือให้แก่เกษตรรกร

นางวิมลรัตน์ สุภาคม ปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบกระบือให้แก่เกษตรรกร จำนวน 10 ราย ๆ ละ 1 ตัว ในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี ตามโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553




รายชื่อเกษตรกร
1.นายดุสิต พรหมเกิด บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเรียง
2.นายภูเมฆ ลักษณะปิยะ บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเรียง
3.นายสมชาย ทิพย์มุณี บ้านเลขที่ 4/3 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเรียง
4.นายสนธยา โมราศิลป์ บ้านเลขที่ 43/3 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเรียง
5.นางสาวอุไร สิงหรัตน์ บ้านเลขที่ 42/1 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
6.นายโชคชัย วรรณรัตน์ บ้านเลขที่ 46/1 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
7.นายอภินันท์ วรรณรัตน์ บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
8.นายบรรจบ ดวงแก้ว บ้านเลขที่ 51/5 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
9.นายทวี สว่างเย็น บ้านเลขที่ 53/3 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
10.นายสำเนียง สิงหรัตน์ บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ(ธคก.)"Cattle-Buffalo Bank for Farmer"


“...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโคและกระบือ โดยมีบัญชี ควบคุม ดูแล รักษา แจกจ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือ ตามหลักการของธนาคาร ธนาคารโคและ กระบือ เป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันนี้มีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็น เครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฏว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโคและกระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน...” ธนาคารโคและกระบือพอจะอนุโลมใช้ได้เหมือนกับธนาคารที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน เพระโดยความหมายทั่วไป ธนาคารก็ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสิ่งมีค่า มีประโยชน์ การตั้งธนาคารโค และกระบือก็มิใช่ว่าตั้งโรงขึ้นมาเก็บโค กระบือ เพียงแต่มีศูนย์กลางขึ้นมา เช่นอาจจัดให้กรมปศุสัตว์เป็นศูนย์รวม ใครจะสมทบธนาคารโค กระบือ ก็ไม่จำเป็นต้องนำโค หรือกระบือไปมอบให้ อาจบริจาคในรูปของเงิน..."

ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ
ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เมื่อวันพืชมงคล 14 พฤษภาคม 2523
เกี่ยวกับโครงการธนาคารโคและกระบือตามพระราชดำริ
ความเป็นมา
โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริเป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโครงการหนึ่ง ที่กรมปศุสัตว์ได้รับพระราชทานให้ดำเนินการ เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกตรวจเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2522 ทรงทราบว่ามีราษฎรจำนวนมากขาดแคลนโค-กระบือ ต้องเช่าโค-กระบือมาใช้งานในราคาแพง และเมื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ก็แทบไม่เหลืออะไรเลย เพราะเงินที่ได้ต้องจ่ายเป็นค่าเช่าโค-กระบือไปเกือบหมด จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์จัดตั้งธนาคารโค-กระบือขึ้นในปี 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ได้มีโอกาสได้โค-กระบือไว้ใช้แรงงานเป็นของตนเอง โดยการเช่าหรือเช่าซื้อหรือวิธีการอื่นใด ในราคาที่ถูกจากส่วนราชการ องค์กรหรือเอกชนฯลฯ
....ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริทั้งหมด โดยได้พระราชทานทั้งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตลอดจนโค-กระบือ ที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลให้แก่กรมปศุสัตว์เพื่อนำไปดำเนินการธนาคารโค - กระบือ ฯ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระองค์ โดยใช้ชื่อย่อว่า "ธคก." และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Cattle-Buffalo Bank for Farmer"
ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยใช้ กระบือของ กรมปศุสัตว์จำนวน 280 ตัว นำไปให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี (ในขณะนั้น) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยการให้เช่าซื้อและผ่อนส่งใช้ให้หมดภายใน 3 ปี และกรมปศุสัตว์ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินการดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางเกษตรเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งต่อมาข่าวโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ(ธคก.)ได้แพร่หลายออกไป ได้มีผู้มีจืตรศรัทธาร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลบริจากโค-กระบือและเงินสมทบเข้าโครงการ และได้ขยายการดำเนินงานไปทั่วประเทศ
ประเภทการให้บริการ (รายละ 1ตัว)
1.การให้ยืมเพื่อการผลิต
2.เช่าซื้อ
3.การให้ยืมพ่อพันธุ์โค – กระบือ
4.เช่าเพื่อใช้แรงงาน
5.ให้บริการอื่นๆ(โคนม)
คุณสมบัติของเกษตรกร
1. เป็นเกษตรกรมีสัญชาติไทยอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป
2. มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์
3. มีความประพฤติดี และยินดีให้ความร่วมมือกับทางราชการ
4. ยังไม่เคยได้รับโคหรือกระบือจากโครงการอื่นๆ มาก่อน
5. มีความเหมาะสมและสามารถที่จะดูแลเลี้ยงโค-กระบือได้
6. มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์ จปฐ.1 (ฉบับที่เป็นปัจจุบัน) หากเกินต้องได้รับการรับรองจากหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือ
เป้าหมาย
1.เกษตรกรมีโค- กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางราชการเกษตร
2.สนับสนุนใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การกำกับดูแลกันเองในชุมชนนั้นๆเพื่อเป็นการเข้มแข็งกันในชุมชน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริ
การเข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นความจำนงได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ในพื้นที่เกษตรกรมีภูมิลำเนา
การเตรียมพร้อมของเกษตรกร
1.ทำความเข้าใจและศึกษารายละเอียดของโครงการ
2.รวมกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เป็นกลุ่มสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารโครงการ ภายใต้ระเบียบโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
3.เข้ารับอบรมชี้แจงการเข้าร่วมโครงการ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือปศุสัตว์อำเภอ จัดขึ้น เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ระเบียบโครงการ หลักการเลี้ยงโค – กระบือ การสร้างคอก การจัดทำแปลงหญ้า และการดูแลสุขภาพสัตว์
4.เมื่อได้รับการยืนยันเข้าร่วมโครงการ และทราบกำหนดวันที่จะได้รับการสนับสนุนสัตว์ให้จัดทำคอกสัตว์อย่างง่ายๆ ประหยัด แต่ต้องมีความแข้งแรง สามารถที่ควบคุมสัตว์ได้ โดยจะต้องมีที่ใส่น้ำ ที่ใส่อาหารและมีที่รวบรวมมูลสัตว์ เพื่อเก็บไว้เป็นปุ๋ยคอก
5.หากประสงค์ที่จะใช้แรงงานจากโค-กระบือ ให้จัดเตรียมอุปกรณ์และฝึกการใช้แรงงานในเบื้องต้นเมือได้รับสัตว์จะสามารถดำเนินฝึกกับสัตว์ที่ได้รับได้ทันที
6.เมือได้รับสัตว์ให้ทำสัญญากับเจ้าหน้าที่ โดยเกษตรกรจะต้องหาผู้ค้ำประกัน 1 คน และเกษตรกรจะต้องเก็บสัญญาไว้เป็นหลักฐาน1 ชุด
การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา
1.เกษตรกรจะต้องเลี้ยงดูโค-กระบือที่ได้รับตามสัญญาในเขตอำเภอที่เกษตรกรขอรับบริการ ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกเขตอำเภอเว้นแต่ว่าได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2.เกษตรกรจะต้องคืนโค-กระบือตัวแรกที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง อายุ 2 ปี ให้แก่โครงการเพื่อนำไปให้บริการกับเกษตรกรรายอื่นต่อไป หรือจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนสู่โครงการ ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อลูกโคตัวแรกเป็นกรรมสิทธิ์ขอตนเอง
3.กรณีที่ลูกโค-กระบือ ตัวแรก หรือ สูญหายก่อนส่งมอบให้แก่โครงการ เกษตรกรจะต้องคืนลูกโค-กระบือตัวต่อไปที่มีอายุครบ 2 ปี คืนโครงการ
4.เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการยืม 5 ปี และเกษตรกรได้ส่งมอบลูกโค-กระบือ ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แงแรง ให้แก่โครงการแล้ว เกษตรกรจะได้แม่โค-กระบือ พร้อมลูกตัวต่อๆไป เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่หากเกษตรกรผู้ยืมทำสัญญายืมแม่โค-กระบือไป 3 ปี แล้ว ไม่มีลูกโค-กระบือตัวแรกที่ต้องส่งคืน ธคก. ทางโครงการฯ จะถอนคืนการให้ยืมโค-กระบือ และเกษตรกรผู้ยืมจะต้องนำโค-กระบือไม่ใช่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากเกษตรกรผู้ยืม จะทดแทนแม่โค-กระบือให้และทำสัญญาใหม่ แต่ถ้าแม่โค-กระบือที่ยืมไปอยู่ในระหว่างตั้งท้องในระยะเวลาครบกำหนด 3 ปี อนุโลมให้เกษตรกรยืมตามสัญญายืมต่อไป
5.ตลอดระยะเวลาแห่งการยืมตามสัญญา เกษตรกรจะต้องจัดให้โค-กระบือที่ยืมได้อยู่ในคอกที่แข็งแรง สะอาด น้ำท่วมไม่ถึงตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์ของกรมปศุสัตว์ หรือกรมปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่และตั้งน้ำให้โค-กระบือที่ยืมเกินได้ตลอดเวลา
6.เมือโค-กระบือที่ยืมเข้าคอก ต้องมีการปิดคอกให้แน่นหนา ผูกหรือล่าม หรือทำหารอย่างอื่นใด ที่จะเป็นโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของโค-กระบือหลุดจากคอกได้
7.ต้องจัดหาหญ้า น้ำไว้เลี้ยงโค-กระบือที่ยืมอย่างเพียงพอในแต่ละวันมิให้ขาด
8.ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายแก่โค-กระบือที่ยืม เช่น อุทก วาตภัย อัคคีภัย หรือมีเหตุการณ์ใดๆที่อาจเป็นอันตรายแก่โค-กระบือที่ยืม เกษตรกรจัดต้องป้องกันมิให้โค-กระบือที่ยืมได้รับอันตรายจากเหตุดังกล่าว
9.เกษตรกรจะต้องนำโค-กระบือที่ยืมไปให้สัตว์แพทย์ของกรมปศุสัตว์หรือกรมปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดทุกครั้ง ตามกำหนดระยะเวลาและสถานที่ที่ปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่ได้นัดหมายไว้
10.เกษตรกรจะต้องระมัดระวังเอาใส่ดูแลและบำรุงรักษาโค-กระบือที่ยืม มิให้เกิดการบาดเจ็บเจ็บป่วย หรือมีสุขภาพทรุดโทรม หรือสูญโจรกรรม หากโค-กระบือที่ยืมเกิดการสูญหาย หรือโจรกรรม ผู้ยืมจะต้องรีบออกติดตามเพื่อให้ได้โค-กระบือที่ยืมกลับคืน
11.หากโค-กระบือที่ยืมตั้งท้อง และคลอดลูก ให้ผุ้ยืมแจ้งให้เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในท้องที่ทราบทันที
การปฏิบัติในกรณีมีปัญหาต่อโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงตามโครงการ
1)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงมีอาการเจ็บป่วย
ให้ผู้ยืมรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ทันที เพื่อทำการรักษา ทั้งนี้ผู้ยืมต้องออกค่าใช้จ่ายเอง(เฉพาะค่ายา)
2)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงได้ตายลง
1)ให้ผู้ยืมรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ทันที เมือโค-กระบือตายลงภายในเวลาไม่เกิน 1 วัน พร้อมทำบันทึกรายงานแจ้งเป็นหลักฐาน และถ้าสามารถหากล้องถ่ายรูปได้ให้ถ่ายรูปโค-กระบือที่ตายไว้ด้วยโดยห้ามผู้ยืมหรือผู้ใดนำซากโค-กระบือที่ตายไปใช้ทากรใดๆ ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่
2)เมื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ได้รับแจ้งเหตุการณ์จะไปตรวจสอบเบื้องต้นในการตายของโค-กระบือดังกล่าว เพื่อรายงานแจ้งต่อสำนักงานปสุสัตว์จังหวัดฯไดดำเนินการ
3)สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฯดำเนินการแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าเกิดจากสาเหตุสุดวิสัยหรือความประมาทของผู้ยืม ถ้าเกิดจากความประมาทของผู้ยืม ผู้ยืมต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
3)กรณีโค-กระบือที่ยืมเลี้ยงถูกขโมยไป
ให้ผู้ยืมแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วคัดสำเนาบันทึกแจ้งความส่งปศุสัตว์อำเภอท้องที่ พร้อมทั้งผู้ยืมต้องทำทุกวิธีอย่างเต็มความสามรถเพื่อให้ได้โค-กระบือ กลับคืนมา
โรคติดต่อที่สำคัญในโค-กระบือและการป้องกันโรค
1)โรคบรูเซลโลซีส
การป้องกัน ฉีดวัคซีนในโคเพศเมียอายุ 3-8 เดือน เพียงครั้งเดียว คุ้มโรคได้นาน 7 ปี
2)โรคปากและเท้าเปื่อย
การป้องกัน ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนขึ้นไป ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัวสัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 3-4 สัปดาห์ และอยู่ได้นาน 6 เดือน
3)โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียชนิน้ำ
การป้องกัน ให้ฉีดสัตว์อายุ 4 เดือนขึ้นไป และฉีดปีละครั้ง สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3สัปดาห์ และอยู่ได้นาน 15 เดือน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

" ...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโค-กระบือ โดยมีบัญชีควบคุม ดูแลรักษา แจกจ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือ ตามหลักการของธนาคาร
...ธนาคารโคและกระบือ เป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไก เป็นเครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้นความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฎว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโค และกระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน..."
...ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อวัน"พืชมงคล 14 พฤษภาคม 2523" เกี่ยวกับโครงการธนาคารโคและกระบือตามพระราชดำริ

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

รายชื่อเกษตรกรที่รับโค

12 สิงหาคม 2543
1. นายพิพัฒน์ บุญงาม (ส่งเงิน)
2. นายบุญส่ง นักพรต (ส่งเงิน)
3. นายเสถียร เสนีย์ (ส่งเงิน)
4. นายสุเทพ อมรกิจ (ส่งโคให้ จังหวัด)
5. นายสุรินทร์ คีรีโชติ (ส่งเงิน)
6. นายยิ้ม ฤทธิมุณีย์ (ส่งเงิน)
7. นางดวงสุดา วันทนะ (ส่งเงิน)
8. นายทวี ชมเชย (ส่งเงิน)
9. นายจรัญ ลายพยัคฆ์ (ส่งโค ให้ จว.)
10. นายบุญนำ มานพศิลป์ (ส่งเงิน)
23 สิงหาคม 2543
1. นางพร้อย ฤทธิมุณีย์ (ส่งเงิน)
2. นายชัยยุทธิ์ ศรีทมิตร (ส่งเงิน)
3. นางสุภาณี วิเศรษฐ์ประไพ (ส่งโค ให้ จว.)
4. นายปอนด์ ชาตะกาญจน์ (ส่งเงิน)
5. นายลาภ มั่นคง (ส่งเงิน)
6. นายทรงฤทธิ์ ศิริภาพ (ส่งโค ให้ จว.)
7. นายสมศักดิ์ สมสังข์ (ตาย)
8. นายบุญทวน มณีชัย (ส่งเงิน)
9. นายสมศักดิ์ เงาะอาศัย (ส่งเงิน)
10. นายพิชิต ลายพยัคฆ์ (ส่งเงินค่าซาก 20 ส.ค.47 เล่มที่ 1446 เลขที่ 72289...300 บาท)แต่ จว.ยังไม่ดำเนินการจำหน่ายออกจากบัญชี
11. นายบำรุง กุลฑล (ส่งเงินค่าซาก 20 เม.ย.46 เล่มที่ 1117 เลขที่ 55816...300 บาท)แต่ จว.ยังไม่ดำเนินการจำหน่ายออกจากบัญชี
12.นางมณฑา นนทโชติ (ส่งโค ให้ หมออู)
13.นายอำนวย พุมรักชาติ (ส่งเงิน)
14. นางสาวเจริญศรี ชูสุข (ส่งเงิน)
15. นายสำรวย ระวังวงค์ (ส่งเงิน)
16. นายสมหมาย โมราศิลป์ (ส่งเงิน)
17. นางอุไร เรืองพันธุ์ (ส่งเงิน)
18. นายประสิทธิ์ คงสินทร์ (ส่งเงิน)
19. นายประสิทธิ์ เลกากาญจน์ (ส่งเงิน)
20. นายสมญา รักษาพล (ส่งเงิน)
21. นายสัมพันธ์ ตุ่มทอง (ส่งโค ให้ จว.)
22. นายชะอุ่ม ด้วงแก้ว (ส่งเงิน)
23. นายดำ กาละศรี (ส่งโค ให้นายบุญเจือ โมราศิลป์)
24. นายสมนึก สุขศรี (ส่งเงิน)
25. นายชุมพร วุฒิมานพ (ส่งโค ให้นายถาวร พฤษกลำมาศ)
26. นายสุพรรณ หนูทอง (ส่งโค ให้ จว.)
27. นายมีชัย รักจันทร์ (ผิดสัญญา ส่งต่อให้นายชุยยุทธ์ กิ่งรัตน์)
28. นายปัญจะ กิจเกตุ (ส่งโค ให้นายสมจริง)
29. นายโอภาส วงศ์เกษร (ส่งเงิน)
30.นางสุชีพ วุฒิชาติปรีชา (ส่งเงิน)
รับเพิ่มจากลูกเกิด
1. นายราวี เกษรบัว รับต่อจากนายชัยยุทธ์ (ส่งเงิน)
2. นายบุญเจือ โมราศิลป์ รับต่อจากนายดำ (ส่งเงิน)
3. นายถาวร พฤษกลำมาศ รับต่อจากนายชุมพร (ส่งเงิน)
4. นายสมจริง กุกุรัตน์ รับต่อจากนายปัญจะ (ส่งเงิน)
5. นายทวี มณีชัย รับต่อจากอำเภอเมือง (ส่งเงิน)
6. นางสาคร ใจอ่อน รับต่อจากอำเภอเมือง (ส่งเงิน)
7. นางบุญรัตน์ ชาตะกาญจน์ รับต่อจากอำเภอเมือง (ส่งเงิน)
รวม รับวัว จำนวน 10+30+7 = 47 ตัว

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

ประวัติการรับโค

12 สิงหาคม 2543 จำนวน 10 ตัว
23 กันยายน 2543 จำนวน 30 ตัว